ข่าวตลอด 24 ชั่วโมงมาแว้วว

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

ทะเล "ออสเตรเลีย" อุดมสมบูรณ์ พบสัตว์น้ำหน้าแปลกหลายร้อยชนิด


นีล บรู๊ซ จากพิพิธภัณฑ์ทรอปิคัลควีนส์แลนด์
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลค้นพบสัตว์น้ำชนิดใหม่นับร้อยชนิด บริเวณปะการังในน่านน้ำของออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นปะการังอ่อน ไปจนถึงสัตว์ที่มีกระ ดอง
นายจูเลียน คาลีย์ นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลออส เตรเลีย กล่าวว่า "พวกเราศึกษาในพื้นที่แถบนี้มานาน แต่ก็ยังพบสัตว์ใหม่ นับร้อยนับพันสาย พันธุ์ โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า เรายังไม่ทราบถึงความลึกซึ้งของความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ทำ ให้ไม่อาจปกป้องสัตว์น้ำในทะเลได้อย่างเต็มที่"
1.หวีวุ้น
2.กุ้ง Alpheus parvirostris
3.ตัวซาเบลลิดส์ หรือ แฟนเวิร์ม
4.ปูคอรัลแคร็บ
5. หอยเม่น Pohls Sea Urchins
6.เดนดรอนเนพยา ซอฟต์ คอรัล

การรวบรวมสายพันธุ์สัตว์ทะเลของออสเตรเลีย อยู่ในโครงการ "สำรวจประชากรสัตว์ทะเล" ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วออส เตรเลีย ต่างส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมสำรวจ และน่าจะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น เพราะต้องเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปทำบาร์โค้ดพันธุกรรม ทำอนุกรมวิธานสัตว์ทะเล และจัดตั้งระบบการตั้งชื่อสัตว์ที่พบ
ในการสำรวจครั้งล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลพบปะการังอ่อน หรือ "อ็อกโตคอรัล" สายพันธุ์ใหม่กว่า 130 สายพันธุ์ สัตว์ที่มีกระดองอ่อน เช่น กุ้งที่มีขายาวกว่าตัวของมัน
โครงการ "สำรวจประชากรสัตว์ทะเล" จะสิ้นสุดในพ.ศ.2553 นับเป็นเวลาการสำรวจทั้งหมด 10 ปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียสำรวจ 3 เส้นทาง คือ บริเวณหมู่เกาะลิซซาร์ด หมู่เกาะฮีรอน และแนวปะการังนิงกาลู
แม้โครงการจะเหลือเวลาการสำรวจอีกแค่ปีกว่าๆ แต่ออสเตรเลียจะยังคงเดินหน้าสำรวจปะการังอ่อนใน 3 พื้นที่นี้ต่อไปอีก 6 ปี เพื่อเรียนรู้และเข้าใจปะการังอ่อนให้มากขึ้น เพราะขณะนี้ความรู้ด้านปะการังอ่อนมีน้อยมาก แม้ว่าปะการังอ่อนจะมีมากในเขตเกรตแบริเออร์รีฟ
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จะนำบ้านพลาสติก 36 หลัง ปักไว้ใต้พื้นมหาสมุทรที่บริเวณหมู่เกาะลิซซาร์ด หมู่เกาะ ฮีรอน และแนวปะการังนิงกาลู เพื่อดูว่า สัตว์ใต้ทะเลจะสนใจบ้านพลาสติกนี้จนเข้ามาอยู่อาศัยหรือไม่ จากนั้นอีก 2-3 ปี ก็จะกลับไปดูอีกครั้งว่า บ้านเป็นอย่างไรบ้าง มีใครจับจองเป็นเจ้าของ ต่อไปก็จะนำบ้านพลาสติกไปปักไว้ใต้ทะเลในเขตอื่นๆ เพื่อสร้างมาตรฐานการศึกษาชีวิตสัตว์ทะเลในส่วนต่างๆ ของโลก
ที่มา นสพ.ข่าวสด จาก
http://www.yenta4.coom/

ไม่มีความคิดเห็น: